Blockchain เทคโนโลยีเบื้องหลังบิทคอยน์
Blockchain ถูกริเริ่มในปี 1991 เป็นระบบฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลแบบถาวร ไร้ตัวกลาง ไม่มีใครเป็นเจ้าของข้อมูลได้และข้อมูลจะถูกกระจายเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายที่เรียกว่า P2P Network ที่ผู้ใช้บนเครือข่ายสามารถเข้าถึงได้ทุกคน ซึ่งยากต่อการทำซ้ำ ดัดแปลง และแก้ไข ด้วยเหตุนี้ทำให้ข้อมูลที่ถูกบันทึกใน Blockchain จึงมีความความน่าเชื่อถือ โปร่งใส โดยข้อมูลจะถูกเก็บเป็นชุด ๆ เรียงต่อกัน ข้อมูล 1 ชุด คือ 1 Block แต่ละ Block จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 1 รายการ ซึ่งส่วนประกอบสำคัญของแต่ละ Block มีดังนี้
-
ข้อมูลที่ต้องการบันทึก เช่น รายการรับส่งเงิน หรือข้อมูลรักษาสุขภาพ เป็นต้น
-
Hash เป็นการนำข้อมูลส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดมาคำนวณเป็นจำนวนเล็ก ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งเปรียบได้เหมือน“ลายนิ้วมือ” ของข้อมูล หากข้อมูลใน Block เปลี่ยน Hash ก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย
-
Previous hash ซึ่งเป็น Hash ของ Block ก่อนหน้า จะทำหน้าที่เป็นห่วงโซ่เชื่อมโยงแต่ละ Block เข้าด้วยกันตามลำดับ
จากระบบที่ไร้ศูนย์กลาง ( Decentralized ) ทำให้การโอนถ่ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้ ( Peer ) มีความรวดเร็ว เชื่อว่าต้องมีหลายท่านสงสัยว่าระบบ Blockchain สามารถแฮกได้หรือเปล่า? ถ้าพูดตามทฤษฎีแล้วสามารถแฮกได้ โดยแฮกเกอร์ต้องเจาะเข้าคอมพิวเตอร์หรือ Peer ที่มีอยู่ในระบบให้เกินครึ่งของจำนวน Peer ทั้งหมด อย่างบิทคอยน์เองมี Peer อยู่ประมาณ 100,000 เครื่องที่กระจายอยู่ทั่วโลก ซึ่งจากข้อมูลตรงนี้ในทางปฏิบัติถือเป็นไปได้ยาก ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ เช่น การแพทย์ในการบันทึกข้อมูลคนไข้ หรือการโอนขายที่ดิน เป็นต้น
ในปี 2008 บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีนามแฝงว่า ซาโตชิ นากาโมโตะ ได้ต่อยอดเทคโนโลยี Blockchain สร้างเป็นส่วนโปรแกรมหลักของสกุลเงินดิจิทัลหรือ Cryptocurrency อย่าง Bitcoin ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นระบบฉันทามติ ( Consensus ) และมีกระบวนการที่เรียกว่า Proof of Work ที่นักขุดจะเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องโดยจะแข่งกันถอดรหัส Hash ของแต่ละ Block หากนักขุดบนเครือข่ายได้คำตอบเดียวกันเป็นเสียงส่วนมากถือว่า Block นั้นถูกต้อง หลังจากนั้นจะถูกบันทึกต่อเข้าไปใน Blockchain และไม่สามารถแก้ไขได้ นักขุดที่หาคำตอบได้คนแรกจะได้รับรางวัลเป็น Bitcoin ที่สร้างขึ้นมาใหม่ โดย ซาโตชิ ได้กำหนดไว้ว่า Bitcoin จะให้มีทั้งหมดได้แค่ 21 ล้านเหรียญเท่านั้น จากการที่มีจำนวนจำกัดและการถอดรหัสเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับความต้องการเหรียญที่เพิ่มขึ้นจากอดีต ด้วยเหตุนี้ทำให้ Bitcoin ถึงมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย
Apple podcast : https://apple.co/3xHDsbJ