top of page
Cover.jpg

ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้บริโภค รวมไปถึงระบบการเงินไทยมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ในปัจจุบัน ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้เล็งเห็นโอกาสนี้ เพื่อสร้างความพร้อมเตรียมเข้าสู่ยุค Digital disruption สนับสนุนโดยการเริ่มพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินดิจิทัลที่มีอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น ระบบพร้อมเพย์, QR Code standard และระบบการยืนยันตนแบบดิจิทัล (KYC) เป็นต้น นอกจากการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังมองอีกทางเลือกหนึ่งในการกำกับดูแลจัดตั้งธนาคารพาณิชย์รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Virtual Bank หรือ Digital-only bank ธนาคารพาณิชย์ที่ไร้สาขาและให้การบริการทั้งหมดอยู่บนระบบดิจิทัล

Virtual bank จะเพิ่มความยืดหยุ่นและตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจได้มากกว่าระบบการเงินของธนาคารพาณิชย์แบบเก่าที่เรียกว่า Core banking system อีกทั้ง Virtual bank สามารถเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ให้อยู่ในระบบเดียวกัน เพิ่มความรวดเร็วในการทำรายการ และลดต้นทุนในการดำเนินงานต่างๆ จากการลดต้นทุนดังกล่าวนี้ ธนาคารพาณิชย์สามารถเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไป ดึงเม็ดเงินเข้ามาเพื่อสร้างโอกาสในการหารายได้ เพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันในระบบการเงิน นอกจากนี้ยังให้บริการสินเชื่อโดยผู้กู้ไม่ต้องแสดงหลักฐานรายได้และรับการอนุมัติสินเชื่อได้อย่างรวดเร็ว ในส่วนผู้บริโภคเองไม่ว่าจะเป็นในภาคครัวเรือน SME ขนาดกลางหรือขนาดย่อม สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น จัดการเงินฝาก เปิดบัญชีด้วยตัวเอง และอาจได้รับดอกเบี้ยเป็นรายวัน

ทั้งนี้ Virtual bank เป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับประเทศไทย การอนุญาตให้จัดตั้ง Virtual bank ต้องคำนึงถึงปัจจัยรอบด้าน ผลกระทบและความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายอยู่เหมือนกัน หากการดำเนินงานทั้งหมดอยู่บนระบบดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบแล้ว ผู้เขียนเชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด

อ้างอิง : https://www.bot.or.th/.../Pages/Article_13May2021-3.aspx

บริษัท ชัยวรรณการบัญชี จำกัด 

190, หมู่ 15, ถนนมีชัย ต.ในเมือง อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย 

โทร 061 993 5195, E-Mail : info@chaiwanaccountancy.com

  • Facebook
  • Spotify
  • YouTube
  • RSS
bottom of page